สุภาษิตไทย หมวด ก
คำสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่เป็นการสร้างคำให้มีความหมายเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย และเป็นเชิงสั่งสอนหรือให้ข้อคิด หรือตักเตือนไปในทางบวก โดยเน้นการให้ความหมายในแง่ดีเป็นหลัก
รวมสุภาษิตไทย หมวด ก
สุภาษิตไทย หมวด ก ตามที่เคยรู้จัก คำสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ก ข ไม่กระดิกหู
หมายถึง ผู้ที่เรียนหนังสือแล้วไม่รู้ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ - กงกำกงเกวียน
หมายถึง การกระทำใดๆ ที่เคยทำไปในอดีต ส่งผลต่อผู้กระทำนั้นๆ มักใช้กับการกระทำในทางที่ไม่ดี ในลักษณะถูกผลกรรมตามสนอง - กงเกวียนกำเกวียน
หมายถึง การกระทำใดๆ ที่เคยทำไปในอดีต ส่งผลต่อผู้กระทำนั้นๆ มักใช้กับการกระทำในทางที่ไม่ดี ในลักษณะถูกผลกรรมตามสนอง - กบเกิดใต้บัวบาน
หมายถึง อยู่ใกล้สิ่งที่ดีงาม แต่ไม่รู้จักคุณค่า - กบเลือกนาย
หมายถึง ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาอยู่เรื่อย ๆ - กบในกะลาครอบ
หมายถึง ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อย แต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก - กรวดน้ำคว่ำขัน
หมายถึง ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย - กรวดน้ำคว่ำขัน
หมายถึง ตัดขาดไม่เกี่ยวข้องด้วย ชาตินี้อย่าได้จอยกัน - กระจอกงอกง่อย
หมายถึง ยากจนเข็ญใจ - กระดังงาลนไฟ
หมายถึง หญิงที่เคยผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงดีกว่าผู้หญิงที่ยังไม่เคยแต่งงาน - กระดี่ได้น้ำ
หมายถึง อาการแสดงความดีใจ หรือตื่นเต้นจนตัวสั่น - กระดูกขัดมัน
หมายถึง ขี้เหนียวมากอย่างไม่ยอมให้อะไรแก่ใครง่าย ๆ - กระดูกร้องไห้
หมายถึง การจับตัวฆาตกรมาลงโทษได้หลังจากพบหลักฐานโดยบังเอิญ - กระต่ายขาเดียว
หมายถึง ยืนกรานไม่ยอมรับ - กระต่ายตื่นตูม
หมายถึง คนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน - กระต่ายหมายจันทร์
หมายถึง ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า - กระเชอก้นรั่ว
หมายถึง ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย ไม่ประหยัด ไม่เก็บหอมรอมริบ - กระโถนท้องพระโรง
หมายถึง บุคคลที่ถูกใคร ๆ รุมใช้อยู่คนเดียว - กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี
หมายถึง เมื่อถึงคราวบ้านเมืองนั้นๆถึงคราวยากลำบาก ก็ยังเหลือคนดีมีความสามารถมาช่วยกอบกู้สถานการณ์ช่วยเหลือให้ผ่านพ้นไปได้ - กลับหน้ามือเป็นหลังมือ
หมายถึง เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปอย่างตรงกันข้าม - กลับเนื้อกลับตัว
หมายถึง เลิกทำความชั่ว แล้วมาประพฤติตัวเป็นคนดี - กลัวให้ถูกท่า กล้าให้ถูกที่ ดีให้ถูกทาง
หมายถึง ทำอะไรก็ต้องให้ถูกกาลเทศะ - กลิ้งครกขึ้นภูเขา
หมายถึง เรื่องที่กำลังจะทำนั้นจะทำให้สำเร็จนั้นทำได้ยากลำบาก ต้องใช้ความพยายามและความสามารถอย่างมาก เปรียบเสมือนการ กลิ้งครกขึ้นภูเขา - กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
หมายถึง พะอืดพะอม จะทำอะไรก็ไม่ถนัด - กล้านักมักบิ่น
หมายถึง กล้าเกินไปมักจะเกิดอันตรายได้ - กวนน้ำให้ขุ่น
หมายถึง ทำเรื่องราวที่สงบอยู่แล้วให้เกิดวุ่นวายขึ้นมา - กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
หมายถึง ทำอะไรไม่ทันท่วงที - กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
หมายถึง ลักษณะของการทำงานที่มีความรีรอลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงที เมื่อได้อย่างหนึ่งแล้ว แต่กลับต้องเสียอีกอย่างหนึ่งไป - กะดี่ได้น้ำ
หมายถึง คนที่แสดงอาการตื่นเต้น ดีใจ ออกนอกหน้าจนระงับอาการไม่อยู่ - กัดก้อนเกลือกิน
หมายถึง ใช้ชีวิตอย่างแร้นแค้นมาก - กาคาบพริก
หมายถึง คนผิวดำที่ชอบแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง ๆ หรือสีแจ๋นๆ - กาในฝูงหงส์
หมายถึง ผู้ที่ต่ำต้อยไม่มีเกียรติ อยู่ท่ามกลางเจ้าขุนมูลนายสูงศักดิ์ - กำขี้ดีกว่ากำตด
หมายถึง การที่คนๆนั้นจะเลือกสิ่งที่มีมูลค่าหรือคุณค่าน้อยว่าแต่ว่าจะได้แน่ๆ ดีกว่าการเลือกสิ่งที่มีคุณค่าหรือมูลค่าสูงกว่า แต่ยังมีความไม่แน่นอนในการได้มาของสิ่งนั้นๆ - กำแพงมีหูประตูมีช่อง / กำแพงมีหูประตูมีตา
หมายถึง จะพูดอะไรต้องระวัง อาจมีคนรู้ได้ - กินที่ลับขับที่แจ้ง
หมายถึง การได้ประโยชน์กันในที่ลับไม่มีใครรู้ แต่ต่อมามีการขัดข้องกันจึงนำเรื่องที่เคยทำนั้นมาเปิดเผยให้หลายๆคนรับรู้ มักใช้ในเชิงชู้สาว - กินที่ลับไขที่แจ้ง
หมายถึง เอาความลับหรือเอาเรื่องที่ทำกันที่ลับมาเปิดเผยให้คนเขารู้ - กินน้ำพริกถ้วยเก่า
หมายถึง อยู่กับเมียคนเดิม - กินน้ำเห็นปลิง
หมายถึง ตะขิดตะขวงใจกับคนชั่วที่รู้พูดหรือคบด้วยโดยรู้ว่าเขาไม่ดี - กินน้ำใต้ศอก
หมายถึง เมียน้อยต้องยอมรับของเหลือเดนจากเมียหลวงตกเป็นรองด้านศักดิ์ศรี - กินน้ำไม่เผื่อแล้ง
หมายถึง มีเงิน มีของก็ใช้ถลุงเสียจนหมด ไม่ห่วงอนาคตข้างหน้า - กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา
หมายถึง คนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้ว คิดทำมิดีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อน - กินบนเรือนขี้บนหลังคา
หมายถึง คนเนรคุณอาศัยบ้านเขาหรือเขาให้ความช่วยเหลือแต่กลับทำความบัดซบให้ - กินบนเรือนแล้วขี้รดหลังคา
หมายถึง เนรคุณ - กินปูนร้อนท้อง
หมายถึง ทำผิดแล้วมักออกตัว แสดงพิรุธ - กิ่งทองใบหยก
หมายถึง ชายหนุ่ม หญิงสาวเหมาะสมกันดีที่จะแต่งงาน - ก่อร่างสร้างตัว
หมายถึง ทำงานหาเงินเป็นกอบเป็นกำ ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เป็นหลักฐาน - ก่อแล้วต้องสาน
หมายถึง เริ่มอะไรแล้วต้องทำต่อให้เสร็จ - เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง
หมายถึง เกลียดตัวเขาแต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา - เกลือจิ้มเกลือ
หมายถึง ไม่ยอมเสียเปรียบกัน แก้เผ็ดให้สาสมกัน - เกลือเป็นหนอน
หมายถึง ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้าน คิดคดทรยศ - เกี่ยวแฝกมุงป่า
หมายถึง ทำอะไรเกินกำลังความสามารถของตัว - เก็บดอกไม้ร่วงต้น
หมายถึง เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่]ชาติปางก่อนจึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้ - เก็บดอกไม้ร่วมต้น
หมายถึง เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้ - เก็บหอมรอมริบ
หมายถึง เก็บรวบรวมไว้ทีละเล็กละน้อย - เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
หมายถึง ถึงจะทำงานเล็กใหญ่ หรือค้าขายอะไรก็ตาม ก็พยายามค่อยๆ ทำให้ดีขึ้นแม้เล็กน้อยๆ เมื่อรวมกันและใช้เวลาก็จะทำให้การงานนั้นเห็นผลเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ - เก็บเล็กผสมน้อย
หมายถึง เก็บสะสมเงินทีละน้อยนานไปก็จะมีเยอะ - เก็บเล็กผสมน้อย
หมายถึง เก็บไว้ทีละเล็กละน้อย - แกงจืดจึงรู้คุณเกลือ
หมายถึง จะรู้ค่าของบางสิ่งก็ต่อเมื่อเดือดร้อน - แกว่งเท้าหาเสี้ยน
หมายถึง เข้าไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่นจนเกิดเป็นเรื่องกลับมาที่ตัวเอง - แกะดำ
หมายถึง คนที่ทำอะไรผิดเพื่อนผิดฝูงในกลุ่มนั้น ๆ (ใช้ในทางไม่ดี) - ใกล้เกลือกินด่าง
หมายถึง มองข้ามของดีที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตน กลับไปแสวงหาสิ่งอื่นที่ด้อยกว่า - ไกลปืนเที่ยง
หมายถึง ไม่ค่อยรู้ความเป็นไปของโลก เพราะอยู่ห่างไกลความเจริญ - ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง
หมายถึง ความสวยงามเกิดขึ้นได้จากการปรุงแต่ง - ไก่รองบ่อน
หมายถึง ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสำรอง ซึ่งจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้ - ไก่อ่อน
หมายถึง อ่อนหัด, ยังไม่ชำนาญ - ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
หมายถึง ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน - ไก่แก่แม่ปลาช่อน
หมายถึง หญิงค่อนข้างมีอายุ มีมารยาและเล่ห์เหลี่ยมมาก - ไก่ได้พลอย
หมายถึง ได้สิ่งที่มีค่าแต่ไม่รู้คุณค่า จึงไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด