สุภาษิตไทย หมวด ข
คำสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่เป็นการสร้างคำให้มีความหมายเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย และเป็นเชิงสั่งสอนหรือให้ข้อคิด หรือตักเตือนไปในทางบวก โดยเน้นการให้ความหมายในแง่ดีเป็นหลัก
รวมสุภาษิตไทย หมวด ข
สุภาษิตไทย หมวด ข ตามที่เคยรู้จัก คำสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ขนมผสมน้ำยา
หมายถึง ทั้งคู่ดีเลวพอกัน จะบอกว่าใครดีกว่าใครไม่ได้ - ขวานฝ่าซาก
หมายถึง พูดจาตรง ๆ ไม่เกรงใจใครเลย - ขว้างงูไม่พ้นคอ
หมายถึง ทำอะไรก็ตาม ผลร้ายย้อนกลับมาสู่ตัวเอง - ขายผ้า เอาหน้ารอด
หมายถึง ยอมเสียทุกอย่างเพื่อรักษาชื่อเสียง - ขายผ้าเอาหน้ารอด
หมายถึง ยอมเสียสละของสำคัญของตนเพื่อรักษาชื่อเสียงตนเอาไว้ - ขิงก็ราข่าก็แรง
หมายถึง ต่างคนต่างแรง ไม่ยอมกัน เรื่องเล็กก็เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่ไป เพราะทิฐิมานะ - ขี่ช้างจับตั๊กแตน
หมายถึง ทำเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ ได้ผลไม่คุ้มกับที่ต้องเสียไป - ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา
หมายถึง เหยียดหยามทั้งวาจา และสายตามองแบบดูถูก - ขุดบ่อล่อปลา
หมายถึง ทำกลอุบายให้เขาเชื่อเพื่อหวังผลประโยชน์ - ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า
หมายถึง บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ใจเราปรารถนา - เขียนเสือให้วัวกลัว
หมายถึง ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม - เขียนเสือให้วัวกลัว
หมายถึง ขู่ให้กลัว - เข็นครกขึ้นภูเขา
หมายถึง ทำงานที่ยากลำบากต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนมาก - เข้าด้ายเข้าเข็ม
หมายถึง กำลังคับขันเวลากำลังสำคัญ ถ้าพลาดหรือมีอะไรมาขัดจังหวะจะเสียการ - เข้าตามตรอก ออกตามประตู
หมายถึง ทำอะไรให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี - เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า
หมายถึง ให้รอบคอบ อย่าประมาท - เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า ได้หน้าอย่าลืมหลัง
หมายถึง อย่าประมาทต้องเตรียมให้พร้อม และให้มีสติกำหนดจดจำให้ดี - เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม
หมายถึง ประพฤติให้ถูกต้องตามกาลเทศะ เมื่อไปอยู่ในพวกเขาแล้ว ก็ต้องประพฤติคล้อยตามเขา