คำสุภาษิต

เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย

หมายถึง เวลาจะต้องเสียงเพียงเล็กน้อย ไม่อยากจะเสีย แต่พอถึงคราวต้องเสียมาก ๆ รับควักเงินให้ทันที อย่างข้าวของที่ชำรุดไปเล็กน้อย แทนที่จะรีบซ่อมแซมเสีย กลับปล่อยให้เสียมาก แล้วจึงซ่อมแซม ซึ่งต้องหมดเงินมากกว่าหลายเท่า

หมายถึง เสียประโยชน์เพียงเล็กน้อยแต่ไม่ยอมเสีย ทำให้ต้องมาเสียมากในที่สุด

 หมายเหตุ

คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย

 ภาพประกอบ

  • คำสุภาษิต: เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย หมายถึง?, หมายถึง เวลาจะต้องเสียงเพียงเล็กน้อย ไม่อยากจะเสีย แต่พอถึงคราวต้องเสียมาก ๆ รับควักเงินให้ทันที อย่างข้าวของที่ชำรุดไปเล็กน้อย แทนที่จะรีบซ่อมแซมเสีย กลับปล่อยให้เสียมาก แล้วจึงซ่อมแซม ซึ่งต้องหมดเงินมากกว่าหลายเท่า อาหาร ข้าว
  • คำสุภาษิต: เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย หมายถึง?, หมายถึง เสียประโยชน์เพียงเล็กน้อยแต่ไม่ยอมเสีย ทำให้ต้องมาเสียมากในที่สุด

 คำสุภาษิตที่คล้ายกัน

กินน้ำไม่เผื่อแล้ง ขายผ้า เอาหน้ารอด ขี่ช้างจับตั๊กแตน ชักใบให้เรือเสีย ทุบหม้อข้าวตัวเอง น้ำขึ้นให้รีบตัก สอนเด็ก สอนง่าย สอนผู้ใหญ่ สอนยาก อย่าเอาทองไปลู่กระเบื้อง เรือล่มในหนองทองจะไปไหน เสน่ห์ปลายจวัก ผัวรักจนตาย เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก

หาคำศัพท์ไม่เจอ หรือยังไม่เห็นคำที่ต้องการ?

ช่วยแนะนำคำใหม่ให้เราสิ
แจ้งเพิ่มคำ
 แสดงความคิดเห็น
 สุภาษิตไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ