ค้นเจอ 212 รายการ

ลอยลม

หมายถึงทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.

วัวพันหลัก

หมายถึงอาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี.

หาเศษหาเลย

หมายถึงหาประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ เบียดบังเอาส่วนที่เหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้ เช่น แม่ครัวมักหาเศษหาเลยจากเงินที่นายมอบให้ไปจ่ายตลาด บางทีก็ใช้ในทางชู้สาว เช่น ทั้ง ๆ ที่แต่งงานแล้ว เขาก็ยังไปหาเศษหาเลยนอกบ้านอีก

ต่อหน้ามะพลับลับหลังตะโก

หมายถึงต่อหน้าทำเป็นดีด้วย ลับหลังกลับนินทาว่าร้ายหรือลอบทำร้าย

วัวสันหลังขาด เห็นกาบินผาดก็ตกใจ

หมายถึงคนที่มีความผิดติดตัว มักจะมีพิรุธ มีอาการหวาดระแวงอยู่เสมอ กลัวคนอื่นจะรู้

วันพระไม่ได้มีหนเดียว

หมายถึงวันหน้ายังมีโอกาสอีก

กงเกวียนกำเกวียน

หมายถึงเวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่นทำแกเขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้างเป็นกงกำกงเกวียน

น้ำไหลไฟดับ

หมายถึงเร็วและคล่อง

ตักบาตรถามพระ

หมายถึงจะให้อะไรสักอย่างหนึ่งแก่ผู้อื่นในเมื่อผู้นั้นเต็มใจรับอยู่แล้วไม่ต้องถามว่าจะเอาหรือไม่เอาเมื่อจะให้ก็ให้ทีเดียวเหมือนกับถวายอาหารพระพระท่านจะรับของทุกอย่างไม่มีการปฏิเสธ

ชิงสุกก่อนห่าม

หมายถึงทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา (มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน)

กระดี่ได้น้ำ

หมายถึงดีอกดีใจตื่นเต้นมาก

ตาดีได้ตาร้ายเสีย

หมายถึงถ้าโชคดี ตานั้นก็ได้ ถ้าโชคร้าย ตานั้นก็เสีย

 สุภาษิตไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ